กองทุนช่วยเหลือเหยื่อแชร์ลูกโซ่ จำเป็นหรือไม่ ?


จำเป็นหรือไม่? ที่จะนำเงินภาษีของประชาชน มาตั้งกองทุนปัญหาและช่วยเหลือเหยื่อแชร์ลูกโซ่เป็นวาระแห่งชาติ

    สืบเนื่องจากช่วงนี้
แชร์ลูกโซ่กำลังระบาดหนักผุดเป็นดอกเห็ดเป็นอย่างมากอย่าง แชร์แม่มณี, Forex 3D, OD Capital, Nice Review, ออมเงินบ้านบัว และอื่นๆเป็นต้น จากนั้นในวันที่ 12 พ.ย 2562 ที่ผ่านมาบรรดากลุ่มเหยื่อแชร์ลูกโซ่ได้เข้ายื่นเรื่องต่อประธานกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบการทุจริต ประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างธรรมมาภิบาล สมาชิกวุฒิสภา เพื่อเสนอร่างกฎหมายป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในลักษณะแชร์ลูกโซ่ ซึ่งมีสาระสำคัญคือมีการกำหนดให้ตั้งสำนักงานป้องกันและปราบปรามแชร์ลูกโซ่ เป็นหน่วยงานของรัฐ แบบเดียวกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส. เพื่อคุ้มครองประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาแชร์ลูกโซ่ และแก้ไขปัญหาการฉ้อโกงประชาชน ที่ปัจจุบันมีอยู่หลายคดี แต่ยังไม่มีความคืบหน้า และผู้ต้องหายังคงลอยนวลอยู่ในสังคม พร้อมให้มีกองทุนเยียวยาเหยื่อแชร์ลูกโซ่ เพื่อให้หน่วยงานสำรองการเยียวยาในช่วงที่รอการบังคับคดี หรือยึดทรัพย์จากผู้ต้องหามาชดใช้ ซึ่งหน่วยงานนี้จะเป็น One stop service ในการแก้ปัญหาแชร์ลูกโซ่ เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินคดีที่ล่าช้า และลดการหาทางออกของผู้เสียหายด้วยการฆ่าตัวตาย หรือ ทำความผิดซ้ำอีก จึงจำเป็นที่หน่วยงานของรัฐจะต้องเข้ามาดูแล นอกจากนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวยังเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดจากจำคุก 3-5 ปี เป็น 7-14 ปี ด้วย

กองทุนช่วยเหลือเหยื่อแชร์ลูกโซ่ จำเป็นหรือไม่ ?

    แค่คิดก็ผิดแล้ว....จากแนวคิดตั้งกองทุนช่วยเหลือเยียวยาแชร์ลูกโซ่ อ้างว่าช่วยเหลือผู้เดือดร้อนจากการถูกโกงแชร์ เอาเงินรัฐจากภาษีจากประชาชนมาลงในกองทุนนี้ ซึ่งหลายๆคนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง (ทีมงาน Thai Forex Room ก็เช่นกัน) เพราะเหยื่อแชร์ลูกโซ่ล้วนเกิดจากความโลภทั้งนั้น  แต่ก็เห็นด้วยในส่วนเรื่องการตั้งจุดรับเรื่องแบบ One Stop Service 

ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญต่อเรื่องนี้


    สุหฤท สยามวาลา อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร และ นักธุรกิจ โพสต์ข้อความแสดงความเห็นกรณีกลุ่มเหยื่อแชร์ลูกโซ่เข้ายื่นหนังสือถึง ส.ว. ขอให้มีการออกกฎหมาย ตั้งกองทุนช่วยเหลือเหยื่อแชร์ลูกโซ่ โดยระบุว่า

คือแบบว่า...ไม่มีทางเข้าใจตรรกะคนไปขอให้ตั้งกองทุนเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากแชร์ลูกโซ่เลยในข่าวบอกว่าเยียวยาช่วงเรื่องอยู่ในคดี กันคนเศร้าหนัก เอิ่ม....พี่ครับเวลาพี่ได้เงินแชร์พี่ดีใจซื้อข้าวของ พี่เสียภาษีอะไรเข้ารัฐไหมครับ ยิ่งเยียวยา แชร์ลูกโซ่จะระบาด คนกล้าเสี่ยงต่อไปแน่ๆ นี่กำลังคิดอะไร? ทำอะไรกันครับนี่!? ผมงี้มึนหนัก ”


    สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการ, นักเขียนด้านเศรษฐศาสตร์ และ หัวหน้าคณะวิจัยแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) ก็ได้เคยแสดงความเห็นในประเด็นดังกล่าวในเชิงไม่เห็นด้วยโดยระบุว่า

ไม่เห็นด้วยเลยนะคะ...เห็นใจทุกคนที่โดนหลอก แต่การปล่อยกู้และการลงทุนทุกชนิดมีความเสี่ยงเสมอ คนที่ถูกหลอกอย่างดีที่สุดก็ควรเร่งรัดให้ตำรวจทำงาน สุดท้ายศาลอาจจะตัดสินให้ยึดทรัพย์สินของคนโกงมาขายชดเชย แต่เหยื่อควรทำใจว่าอย่างมากจะได้ชดเชยแค่บางส่วนเท่านั้น เพราะเขาหลอกแบบจับเสือมือเปล่า เอาเงินคนอื่นมาหลอกต่อเป็นทอดๆ ไม่ได้มีรายได้มหาศาลขนาดนั้น  รัฐไม่มีหน้าที่เอาเงินสาธารณะของทุกคน มาชดเชยผลขาดทุนจากการลงทุนของกลุ่ม หรือ คนเพียงไม่กี่คน ให้ลองดูตลาดหุ้นเป็นตัวอย่าง 

   สุดท้ายนี้ให้ทุกคนสังเกตและตระหนักว่าเรื่อง “ความเสี่ยง” เป็นเรื่องที่ในไทยยังต้องมีการให้ความรู้ผู้คนอีกมาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญเลยของความรู้เรื่องทางการเงิน (Financial Literacy) ของทุกชนชั้นครับ

👇 กดปุ่มแชร์ความรู้ได้ที่นี่

🔥 บทความที่ได้รับความนิยม

👨‍💻👩‍💻 จำนวนการดูหน้าเว็บวันนี้

- SPONSORED | ผู้สนับสนุน -